การจำลองการฉีดพลาสติก
หน้า 1 จาก 1
การจำลองการฉีดพลาสติก
จำลองการไหลของพลาสติกช่วงเริ่มฉีดและการฉีดย้ำ (Themoplastics Filling & Packaging) - คือจำลองการฉีดพลาสติกเข้าไปจนเต็มแม่พิมพ์ และการย้ำความดันในกระบวนการฉีดพลาสติก เพื่อทำนายพฤติกรรมการไหลของพลาสติก จากนั้นทำการตรวจสอบว่าชิ้นงานที่ผลิตขึ้นมีคุณภาพเชื่อถือได้ ตั้งแต่การออกแบบชิ้นงาน ออกแบบแม่พิมพ์ การเลือกพลาสติก และการปรับตั้งกระบวนการฉีด เพื่อให้เกิดความเหมาะสมทั้งคุณภาพ ราคา และเวลา โดยผู้ใช้งานสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่มีผลกระทบต่อชิ้นงานได้หลายปัญหา เช่น รอยประสาน (weld line) รอยยุบตัว (sink mark) บริเวณอากาศอั้น (air traps) และสามารถวิเคราะห์หาความหนาชิ้นงานที่บางที่สุดที่สามารถผลิตชิ้นงานได้โดยไม่มีปัญหาเพื่อการลดต้นทุน เป็นต้น
การวิเคราะห์หาตัวแปรการฉีด (Molding Window) หาตัวแปรที่ใช้ในการฉีดพลาสติกที่เหมาะสม - ทำให้ผู้ใช้ตรวจสอบและหาความเป็นไปได้ของทางเข้าเกท ความหนาชิ้นงาน และการเลือกพลาสติก ได้อย่างรวดเร็ว
จำลองการฉีดแม่พิมพ์ที่มี insert (Insert Overmolding) - ทำให้ผู้ใช้ศึกษาถึงผลกระทบของ insert ที่มีต่อพลาสติกหลอม การแข็งตัวของพลาสติกเมื่อได้รับการหล่อเย็น และปัญหาของชิ้นงานที่อาจเกิดการบิดตัวได้
จำลองการฉีดแบบ overmolding 2 ช็อตต่อเนื่อง (Two-shot Sequential Overmolding) - โดยการใช้พลาสติกหลอมสองชนิด ที่มีการทำงานสองจังหวะ โดยจังหวะแรก แม่พิมพ์จะปิดเพื่อฉีดพลาสติกหลอมชนิกแรกลงพิมพ์ จังหวะที่สองจะเกิดเพื่อเติมเนื้อพลาสติกที่สองหลอมลงบนเนื้อพลาสติกแรกจนเต็มพิมพ์ ผู้ใช้สามารถควบคุมการไหลของพลาสติกทั้งสองและจังหวะการเปิดและปิดแม่พิมพ์ได้อย่างเหมาะสม
การออกแบบการทดลอง (Design of Experiments) - จะทำการปรับเปลี่ยนค่าตัวแปรต่างๆอัตโนมัติ เพื่อศึกษาผลกระทบของตัวแปรต่อคุณภาพของชิ้นงาน เช่น อุณหภูมิแม่พิมพ์ อุณหภูมิพลาสติกเหลว เวลาที่ใช้ฉีดพลาสติก ขนาดและเวลาของการฉีดย้ำ ผลกระทบในการปรับความหนาชิ้นงาน จากนั้นจะทำการเรียงลำดับตัวแปรที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชิ้นงานจากมากไปน้อยเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถทราบและเลือกใช้
ตัวแปรที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการปรับปรุงคุณภาพชิ้นงาน
การวิเคราะห์หาตัวแปรการฉีด (Molding Window) หาตัวแปรที่ใช้ในการฉีดพลาสติกที่เหมาะสม - ทำให้ผู้ใช้ตรวจสอบและหาความเป็นไปได้ของทางเข้าเกท ความหนาชิ้นงาน และการเลือกพลาสติก ได้อย่างรวดเร็ว
จำลองการฉีดแม่พิมพ์ที่มี insert (Insert Overmolding) - ทำให้ผู้ใช้ศึกษาถึงผลกระทบของ insert ที่มีต่อพลาสติกหลอม การแข็งตัวของพลาสติกเมื่อได้รับการหล่อเย็น และปัญหาของชิ้นงานที่อาจเกิดการบิดตัวได้
จำลองการฉีดแบบ overmolding 2 ช็อตต่อเนื่อง (Two-shot Sequential Overmolding) - โดยการใช้พลาสติกหลอมสองชนิด ที่มีการทำงานสองจังหวะ โดยจังหวะแรก แม่พิมพ์จะปิดเพื่อฉีดพลาสติกหลอมชนิกแรกลงพิมพ์ จังหวะที่สองจะเกิดเพื่อเติมเนื้อพลาสติกที่สองหลอมลงบนเนื้อพลาสติกแรกจนเต็มพิมพ์ ผู้ใช้สามารถควบคุมการไหลของพลาสติกทั้งสองและจังหวะการเปิดและปิดแม่พิมพ์ได้อย่างเหมาะสม
การออกแบบการทดลอง (Design of Experiments) - จะทำการปรับเปลี่ยนค่าตัวแปรต่างๆอัตโนมัติ เพื่อศึกษาผลกระทบของตัวแปรต่อคุณภาพของชิ้นงาน เช่น อุณหภูมิแม่พิมพ์ อุณหภูมิพลาสติกเหลว เวลาที่ใช้ฉีดพลาสติก ขนาดและเวลาของการฉีดย้ำ ผลกระทบในการปรับความหนาชิ้นงาน จากนั้นจะทำการเรียงลำดับตัวแปรที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชิ้นงานจากมากไปน้อยเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถทราบและเลือกใช้
ตัวแปรที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการปรับปรุงคุณภาพชิ้นงาน
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ