การวิเคราะห์การไหลของกระบวนการฉีดพลาสติก
หน้า 1 จาก 1
การวิเคราะห์การไหลของกระบวนการฉีดพลาสติก
การวิเคราะห์การไหลของกระบวนการฉีดพลาสติกอื่นๆ
กระบวนการฉีดพลาสติกแก๊ส (Gas-Assisted Injection Molding) - คือกระบวนการฉีดพลาสติกแบบแก๊ส ที่มีการใช้แก๊สเฉื่อย โดยมากเป็นพวกไนโตรเจน ซึ่งจะทำหน้าที่ในการผลักเนื้อพลาสติกที่เข้าสู่ cavity เพื่อเกิดโครงสร้างของพลาสติกโดยรอบช่องทางกลวง (hollow channel) ทำให้เหมาะกับการผลิตชิ้นงานที่ภายในกลวง ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์หาความหนาชิ้นงานที่บางที่สุด โดยที่ยังผลิตชิ้นงานได้ จากการหาปริมาณพลาสติกที่น้อยที่สุด ก่อนที่จะฉีดแก๊ส
กระบวนการฉีดพลาสติกแบบ co-injection (Co-Injection Molding) - คือกระบวนการฉีดพลาสติกที่มีการใช้พลาสติกสองชนิด ฉีดลงบนแม่พิมพ์เดียวกัน โดยที่พลาสติกที่ผิวหน้า (skin material) จะฉีดก่อน และตามด้วยการฉีดพลาสติกที่ส่วนแกน (core material) ผู้ใช้สามารถหาอัตราส่วนที่เหมาะสมของการใช้พลาสติกทั้งสอง โดยมีคุณภาพชิ้นงานดีที่สุดและและใช้ต้นทุนของพลาสติกน้อยสุด
กระบวนการฉีดพลาสติกแบบอัดขึ้นรูป (Injection-Compression Molding) - คือกระบวนการฉีดพลาสติก ที่เหมาะกับชิ้นงานที่มีผนังบางและใช้แรงดันต่ำ ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์การไหลของพลาสติกช่วงการฉีดและการอัดพิมพ์ ควบคุมเวลาที่ฉีดและอัดพิมพ์ เลือกพลาสติกที่เหมาะสม คำนึงถึงความเป็นได้ในการออกแบบชิ้นงาน การออกแบบแม่พิมพ์ และหาค่าปรับตั้งกระบวนการฉีด
กระบวนการฉีดพลาสติกแบบ Microcellular (Microcellular Injection Molding) - คือกระบวนการฉีด ที่มีการใช้สารผสม ระหว่างของเหลวที่เรียกว่า ซุปเปอร์คริทิคอล – ฟลูอิค (supercritical fluid, SCF ) เช่น CO2 หรือ N2 กับโพลิเมอร์เหลว แล้วทำการฉีดเข้าสู่แม่พิมพ์เพื่อผลิตโฟมเหนือกว่าโฟมที่ผลิตจากกระบวนการอื่นๆ ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์การไหลของพลาสติกทั้งก่อนและหลังการเกิดโฟม ปริมาณที่เหมาะสมในการเติมสารเหลวนี้ เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีความหนาบางและสม่ำเสมอ รอบการฉีดต่ำ และการบิดตัวน้อย
การวิเคราะห์ไปรีฟริงเจนซ์ (Birefringence) - คือการวิเคราะห์การไหลของชิ้นงานที่แสงผ่านได้ เพื่อทำนายความแตกต่างระหว่างค่าดัชนีหักเหสงสุดกับค่าดัชนีหักเหต่ำสุด ที่มีผลต่อความเค้นของชิ้นงาน ผู้ใช้สามารถตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงาน การเลือกใช้พลาสติก การวางตำแหน่งเกทและทางวิ่ง และการหาตัวแปรที่ใช้ในการฉีด ที่เหมาะสมเพื่อให้ชิ้นงานคงสภาพหรือไม่เสียรูปร่าง ในสภาวะที่มีความเค้น
การตั้งค่าปรับฉีด (Process Optimization) - วิเคราะห์เพื่อหาค่าปรับฉีดที่เหมาะสมบนเครื่องพลาสติกที่สนใจ ทำให้ผู้ใช้หาเวลาในการตอบสนองในการฉีด (respond time) ความเร็วสูงสุดที่ตั้งได้ในการฉีด ระยะเปิด-ปิดพิมพ์ ทำให้ตั้งค่าโปรแกรมที่เหมาะสมในการควบคุมการฉีดพลาสติกบนเครื่องฉีดพลาสติกได้
กระบวนการฉีดพลาสติกแก๊ส (Gas-Assisted Injection Molding) - คือกระบวนการฉีดพลาสติกแบบแก๊ส ที่มีการใช้แก๊สเฉื่อย โดยมากเป็นพวกไนโตรเจน ซึ่งจะทำหน้าที่ในการผลักเนื้อพลาสติกที่เข้าสู่ cavity เพื่อเกิดโครงสร้างของพลาสติกโดยรอบช่องทางกลวง (hollow channel) ทำให้เหมาะกับการผลิตชิ้นงานที่ภายในกลวง ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์หาความหนาชิ้นงานที่บางที่สุด โดยที่ยังผลิตชิ้นงานได้ จากการหาปริมาณพลาสติกที่น้อยที่สุด ก่อนที่จะฉีดแก๊ส
กระบวนการฉีดพลาสติกแบบ co-injection (Co-Injection Molding) - คือกระบวนการฉีดพลาสติกที่มีการใช้พลาสติกสองชนิด ฉีดลงบนแม่พิมพ์เดียวกัน โดยที่พลาสติกที่ผิวหน้า (skin material) จะฉีดก่อน และตามด้วยการฉีดพลาสติกที่ส่วนแกน (core material) ผู้ใช้สามารถหาอัตราส่วนที่เหมาะสมของการใช้พลาสติกทั้งสอง โดยมีคุณภาพชิ้นงานดีที่สุดและและใช้ต้นทุนของพลาสติกน้อยสุด
กระบวนการฉีดพลาสติกแบบอัดขึ้นรูป (Injection-Compression Molding) - คือกระบวนการฉีดพลาสติก ที่เหมาะกับชิ้นงานที่มีผนังบางและใช้แรงดันต่ำ ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์การไหลของพลาสติกช่วงการฉีดและการอัดพิมพ์ ควบคุมเวลาที่ฉีดและอัดพิมพ์ เลือกพลาสติกที่เหมาะสม คำนึงถึงความเป็นได้ในการออกแบบชิ้นงาน การออกแบบแม่พิมพ์ และหาค่าปรับตั้งกระบวนการฉีด
กระบวนการฉีดพลาสติกแบบ Microcellular (Microcellular Injection Molding) - คือกระบวนการฉีด ที่มีการใช้สารผสม ระหว่างของเหลวที่เรียกว่า ซุปเปอร์คริทิคอล – ฟลูอิค (supercritical fluid, SCF ) เช่น CO2 หรือ N2 กับโพลิเมอร์เหลว แล้วทำการฉีดเข้าสู่แม่พิมพ์เพื่อผลิตโฟมเหนือกว่าโฟมที่ผลิตจากกระบวนการอื่นๆ ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์การไหลของพลาสติกทั้งก่อนและหลังการเกิดโฟม ปริมาณที่เหมาะสมในการเติมสารเหลวนี้ เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่มีความหนาบางและสม่ำเสมอ รอบการฉีดต่ำ และการบิดตัวน้อย
การวิเคราะห์ไปรีฟริงเจนซ์ (Birefringence) - คือการวิเคราะห์การไหลของชิ้นงานที่แสงผ่านได้ เพื่อทำนายความแตกต่างระหว่างค่าดัชนีหักเหสงสุดกับค่าดัชนีหักเหต่ำสุด ที่มีผลต่อความเค้นของชิ้นงาน ผู้ใช้สามารถตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงาน การเลือกใช้พลาสติก การวางตำแหน่งเกทและทางวิ่ง และการหาตัวแปรที่ใช้ในการฉีด ที่เหมาะสมเพื่อให้ชิ้นงานคงสภาพหรือไม่เสียรูปร่าง ในสภาวะที่มีความเค้น
การตั้งค่าปรับฉีด (Process Optimization) - วิเคราะห์เพื่อหาค่าปรับฉีดที่เหมาะสมบนเครื่องพลาสติกที่สนใจ ทำให้ผู้ใช้หาเวลาในการตอบสนองในการฉีด (respond time) ความเร็วสูงสุดที่ตั้งได้ในการฉีด ระยะเปิด-ปิดพิมพ์ ทำให้ตั้งค่าโปรแกรมที่เหมาะสมในการควบคุมการฉีดพลาสติกบนเครื่องฉีดพลาสติกได้
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ